วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประวัติของฉัน

ประวัติของฉัน




ชื่อ นางสาวชลธิชา ชโลธร

เกิดวันที่10 มิถุนายน 2536 อายุ 21 ปี

ที่อยู่ปัจจุบัน 107 หมู่ที่8  บ้านถนน ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000

E-mail chonthicha10062536@gmail.com

ด้านการศึกษา
อนุบาล 1 - ป.6 จบจากโรงเรียนหนองโตง "สุรวิทยาคม"
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 - 6 จบจากโรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน
ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์  สาขาการตลาด ระดับ บธ.บ 4/3 คณะวิทยาการจัดการ

คติประจำใจ อย่าเพิ่งท้อแท้ในสิ่งที่ยังไม่พยายาม และอย่าเพิ่งหมดหวังในสิ่งที่ยังไม่เริ่มต้น

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประวัติหมู่บ้านของฉัน

ประวัติหมู่บ้านของฉัน

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
   
              ชื่อ"บ้านถนน" มาจากชื่อหนองน้ำคือ "หนองถนน"  บ้านถนน หมู่ที่ 8 ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี 2437 โดยมีประชาชนกลุ่มหนึ่ง คือ ครอบครัวตาจรัญ ยายทิพย์ ตาริม ยายเมา ตาวาย ยายเรียม ตาทิพย์ ยายอิบ พร้อมด้วยครอบครัว ได้อพยพมาจากบ้านโคกเพชร หมู่ที่ 19 เนื่องจากพื้นที่เดิมแออัด จึงขยายครอบครัวออกมาเพื่อหาที่ทำกินแห่งใหม่บริเวณบ้านละลาย (คุ้มโคกจ๊ะในปัจจุบัน)

ด้านการปกครอง  

นายสุธา             ชโลธร        (ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน)
นางจันทร์พิมพ์   เกษรบัว      (ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน)
นายธันธ์ยา         บุตรบุรี        (ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน)
นางทัศนีย์          งามแฉล้ม   (สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลเฉนียง)
นายสมกิจ          แถบน้อย     (สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลเฉนียง)


ด้านการคมนาคม

          บ้านถนน หมู่ที่8 ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดสุรินทร์ ห่างจากตัวจังหวัด 8 กิโลเมตร เดินทางไปตามถนนสายสุรินทร์ - ปราสาท ถึงกิโลเมตรที่ 5 ทางเข้าห้วยเสนงซ้ายมือ


สภาพทางภูมิศาสตร์

       - ทิศเหนือ  ติดกับบ้านละเอาะ หมู่ที่ 18 ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
     
       - ทิศใต้    ติดกับบ้านโคกเพชร หมู่ที่ 19 ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
       
       - ทิศตะวันออก  ติดกับบ้านโคกยาง หมู่ที่ 8 ตำบลนอกเมือง  อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

       - ทิศตะวันตก  ติดกับบ้านหนองเต่า หมู่ที่13 ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์


ข้อมูลด้านพื้นที่

     หมู่บ้านมีเนื้อที่ประมาณ 1,980 ไร่ แบ่งออกเป็น
 
            - พื้นที่ที่อยู่อาศัย

            - พื้นที่ทำการเกษตร

            - พื้นที่สาธารณะ

ข้อมูลด้านประชากร

             จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 104 ครัวเรือน จำนวนประชากรประมาณ 336 คน

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและอาชีพของราษฎร




            ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ผัก   มีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพ หลากหลายกลุ่ม โดยคนในหมู่บ้านมีการร่วมกันเป็นสมาชิกกลุ่มกองทุนต่าง ๆ  ได้แก่   กลุ่มออมเงินสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิต    กองทุนหมู่บ้าน   กลุ่มอาชีพแม่บ้าน    กลุ่มเกษตรกร   และได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจาก อบต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้บ้านถนน ยังมีกิจกรรมที่สามารถลดราย
จ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว เช่น  การปลูกพืชผักสวนครัว     การเพาะเห็ดฟาง  การปลูกผัก    การเลี้ยงปลา  การเลี้ยงเป็ดไข่  ห่าน  กระต่าย   สำหรับบริโภคหรือ นำไปขาย   การทำจักสาน   น้ำพริก   ปุ๋ยหมักชีวภาพ   และยังมีการปลูกต้นไม้ตามลำคลองน้ำ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ








ข้อมูลทางด้านประเพณี

            ในรอบปีหมู่บ้านจะมีการทำบุญหรือจัดกิจกรรมที่สำคัญขึ้นเป็นประจำ เช่น ทำบุญขึ้นปีใหม่ ทำบุญวันสงกรานต์หรือก่อเจดีย์ทราย เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ทำบุญร่วมกัน

ที่มา : คณะกรรมการจัดทำแผนชุมชนบ้านถนน
























ประเพณีแซนโฎนตา

ประเพณีแซนโฎนตา

        ชาวสุรินทร์เชื้อสายเขมร เชื่อว่า การประกอบประเพณีแซนโฎนตา เป็นการที่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป เชื่อว่าทำให้ทุกข์เวทนาจากบวงกรรมมีความบรรเทาเบาบางลง จึงให้มีการจัดพิธีแซนโฎนตา ขึ้นและให้มีการสืบทอดต่อๆกันมา ลูกหลานต้องปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันมาถึงทุกวันนี้ ถ้าญาติหรือลูกหลานประกอบพิธีแซนโฎนตา และทำบุญอุทิศให้ เชื่อว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จมี เงินมีทองใช้ แต่ถ้าไม่ทำพิธีแซนโฎนตา ญาติที่ล่วงลับไป ก็จะโกรธและสาปแช่งญาติหรือลูกหลานไม่ให้มีความสุขความเจริญประกอบอาชีพฝืด เคือง ไม่ราบรื่น ดังนั้นลูกหลานของชาวไทยเชื้อสายเขมรทุกรุ่นจึงต้องประกอบพิธีแซนโฎนตามา ทุกปีจนถึงปัจจุบันนี้

        คำว่า"แซนโฏนตา"มาจากไหน แซน หมายถึงการเซ่นไหว้ การบวงสรวง โฎนตา หมายถึง การทำบุญให้ยาย และตา ปู่และย่าหรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ คำว่า "โฎน " เป็นภาษาเขมรใช้เรียกยายหรือย่า ส่วนตาใช้เรียนแทนตาและปู่ ว โดยทั่วไปแล้วมักเขียนว่า "โดนตา" ซึ่งถือว่าผิด เนื่องจากเป็นประเพณีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษของชาวเขมร ที่ไม่มีตัวอักษร "ด" อยู่ในพยัญชนะ แต่ใช้ตัว
"ฏ" สืบทอดมาเป็นระยะเวลานาน การเตรียมอุปกรณ์เครื่องเซ่นไหว้ การเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำ
หมู่บ้าน การเซ่นไหว้ศาลพระภูมิประจำบ้าน การประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตาที่บ้าน การประกอบพิธีกรรมบายเบ็ญ(เครื่องเซ่นไหว้) การประกอบพิธีกรรมที่วัด ประกอบด้วย อาหารคาว -หวาน ผลไม้ เครื่องดื่ม ได้แก่ ปลานึ่ง ปลาย่าง หมูย่าง ไก่ย่าง แกงวุ้นเส้น แกงกล้วย ต้มยำไก่ ลาบหมู ไก่นึ่ง ซึ่งต้องเป็นไก่ทั้งตัวเอาเครื่องในออก อาหารหวาน ได้แก่ ข้าวต้มมัดใบมะพร้าว ขนมเทียน ขนมนางเล็ด ขนมโชค(ขนมดอกบัว) ขนมโกรด ข้าวกระยาสารท ผลไม้ ได้แก่ มะพร้าวอ่อน กล้วย ส้ม ละมุด พุทรา องุ่น เป็นต้น เครื่องดื่ม ได้แก่ น้ำเปล่า เหล้าขาว น้ำอัดลม เหล้าสีต่างๆเป็นต้น อุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ เสื่อหวาย ที่นอนแบบพับ หมอน ผ้าขาว ผ้าไหม ผ้าโสร่ง อาภรณ์ต่าง ๆ พาน ธูป เทียน กรวย 5 ช่อ ที่ทำจากใบตองสดม้วนเป็นกรวย แล้วสอดด้วย ธูป และใบกรุยการจัดกรวย5ช่อคือ ขันธ์ 5 หมายถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
(ที่มา : http://radio.prd.go.th/surin/ewt_news.phpnid=2548&filename=index)

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตา มีดังนี้

1. การเตรียมอุปกรณ์เครื่องเซ่นไหว้




             ประกอบด้วยอาหารคาว หวาน ผลไม้ เครื่องดื่ม และของใช้ต่างๆ


2. การเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน




       ชาวบ้านจะนำเครื่องเซ่นไหว้ ซึ่งแบ่งไว้ต่างหากจากที่เซ่นที่บ้านไปเซ่นศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน ซึ่งทุกบ้านที่จะประกอบพิธีกรรมใดๆก็ตามจะต้องไปเซ่นไหว้ศาลปู่ตาก่อนเสมอ เป็นการบอกกล่าวให้ศาลปู่ตารับรู้ ตามความเชื่อที่สืบต่อกันมานาน


3. การเซ่นไหว้ศาลพระภูมิประจำบ้าน



         เมื่อเสร็จจากการไหว้ศาลปู่ตาประจำบ้านแล้ว จะนำเครื่องเซ่นไหว้ ซึ่งแบ่งไว้ต่างหากจากที่เซ่นที่บ้าน เซ่นศาลพระภูมิประจำบ้าน เพื่อบอกกล่าวและเป็นการเปิดทางให้ผีบรรพบุรุษสามารถเข้าออกบ้านได้


4. การประกอบพิธีกรรมแซนโฏนตาที่บ้าน




          แสดงออกถึงการนับถือผีตายาย คือ เทศกาลเดือน 10 ในวันแรม 14 ค่ำ มีการเซ่นผีตายายที่เรียกว่าแซนโฎนตา คำว่าแซน หมายถึง เซ่น  โฎน หมายถึง ตายาย


5. การประกอบพิธีกรรมบายเบ็น



         
            เมื่อเสร็จพิธีกรรมแซนโฎนตาที่บ้านแล้ว จะมีการทำบายเบ็น ประกอบด้วยข้าวเหนียวนึ่งคลุกกับงาปั้นเป็นก้อนๆ ขนมข้าวต้มแกะห่อออก ผลไใ้ต่างๆ ใส่ภาชนะไปรวมกันที่วัดในเวลาเช้ามืดของวันแรม 15ค่ำเดือน10 ให้พระทำพิธีให้ แล้วจึงนำบายเบ็นไปที่นาเพื่อบูชา เซ่นไหว้พระแม่โพสพ จากนั้นก็นำบายเบ็นไปหว่านหรือโปรยให้ทั่วนาข้าว ก็จะเป็นการรับขวัญข้าวพอดี


6. การประกอบพิธีกรรมที่วัด




      ในเช้าวันแรม 15ค่ำ เดือน10 หลังจากที่นำบายเบ็นไปหว่านที่นาแล้ว ก็จะนำอาหารคาวหวานลักษณะเดียวกันกับที่ประกอบพิธีที่บ้าน โดยทำขึ้นใหม่นำไปที่วัด เพื่อให้พระสงฆ์ทำพิธีสวดมนต์ อุทิศส่วนกุศลอีกครั้ง แต่การอุทิศส่วนกุศลที่วัดจะไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นญาติ หรือบรรพบุรุษของตนเองเท่านั้น แต่จะรวมถึงผีไร้ญาติ สัมพะเวสี เจ้ากรรมนายเวรต่างๆ ได้รับส่วนบุญด้วย
(ที่มา:http://www.surinrelations.org/index.phplay=show&ac=article&Id=239375&Ntype=4)

       ดังนั้นลูกหลานของชาวไทยเขมรทุกรุ่นจึงต้องประกอบพิธีแซนโฎนตา หรือพิธีกราบไหว้ เซ่นไหว้บรรพบุรุษ มาตราบจนทุกวันนี้ โดยงานประเพณีแซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ ของพี่น้องชาวเขมรพื้นเมืองสุรินทร์ร่วมไปถึงชนชาวกูยหรือส่วยอีกด้วย ซึ่งไม่เฉพาะชนชาวเขมรพื้นเมืองที่ จ.สุรินทร์ ที่จัดพิธี "สารทเล็ก " หรือ "เบ็ญตู๊จ" ในวันที่ 14 กันยายน หรือ ตรงกับขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 และ "สารทใหญ่" หรือ "เบ็ญธม" ในวันที่ 29 กันยายน 2551 หรือ ตรงกับ แรม 15 ค่ำเดือน 10 ซึ่งถือเป็น วันแซนโฎนตาที่แท้จริง ส่วนการจูนโฎนตา เป็นการนำอาหารคาว หวาน ของสด ผลไม้ ไปไหว้ แก่ผู้อาวุโสในครอบครัว ซึ่งลูกหลานทุกคนจะเตรียมไปไหว้ขอพรจากผู้ใหญ่ การแซนโฎนตา เป็นการเตรียมสำรับอาหารคาว หวาน ขนม ข้าวต้มมัด กระยาสารท ฯลฯ นำมาจัดในกระเชอหรือกระด้ง หรือเรียกว่า "กระจือโฎนตา” ซึ่งเป็นการเตรียมไว้สำหรับการเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และจะเตรียมอาหารคาว หวาน ของสด ผลไม้ไปวัดในเช้าของ วันแรม 15 เดือน 10 เพื่อเป็นการทำบุญให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว









































มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์


มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (สถาบันราชภัฏสุรินทร์, วิทยาลัยครูสุรินทร์) ได้รับการ สถาปนาเมื่อวันที่ 29
กันยายน พ.ศ. 2516 ในสังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน นาม"สถาบันราชภัฏ" แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ 36 แห่ง เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 และได้จัดตั้งเป็นสถาบันราชภัฏสุรินทร์ แทนวิทยาลัยครูสุรินทร์ ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 และได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิท ยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 

สีประจำมหาลัย
       ม่วง - เขียว

ต้นไม้ประจำมหาลัย

       อินทนิล


สถานที่ตั้ง


       มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่ 186 หมู่ 1 ถ.สุรินทร์ - ปราสาท (กิโลเมตรที่ 2 
ห่างจาก ตัวเมืองไปทางใต้) ตำบลนอกเมืองอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000 

เนื้อที่

       มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์เนื้อที่ทั้งหมด 479 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา


สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย




  ปรัชญา
    มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

  วิสัยทัศน์
    เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จัดการศึกษาทุกระดับในสาขาวิชาการต่างๆ อย่างมีมาตราฐาน มีอิสระในการบริหารการจัดการเน้นการวิจัยและสร้างองค์ความรู้ท้องถิ่นและสากล เป็นแหล่ง วิทยบริการและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สังคม เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

  ปณิธาน

    แหล่งวิทยาการ มาตรฐานการศึกษา งานวิจัยก้าวหน้า ศูนย์รวมภูมิปัญญา พัฒนาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรม

หลักสูตรที่เปิดสอน
ระดับปริญญาตรี
       มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์มีการกระจายอำนาจทางวิชาการแบ่งส่วนราชการเป็น 5 คณะ ได้แก่

  1. คณะครุศาสตร์
  2. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  3. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  4. คณะวิทยาการจัดการ

  5. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

ระดับปริญญาโท
       มหาวิทยราลัยราชภัฏสุรินทร์เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาโท 7 สาขาวิชา ได้แก่

  1. สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา 
  2. การบริหารการศึกษา 
  3. การวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น 
  4. เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 
  5. เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 
  6. หลักสูตรและการสอน 

  7. ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ระดับปริญญาเอก

       มหาวิทยราลัยราชภัฏสุรินทร์เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาเอก 1 สาขาวิชา คือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค

ที่มา : http://www.srru.ac.th
















































การอบสมุนไพร

การอบสมุนไพร
          การอบสมุนไพร  คือ  การอบตัวด้วยไอน้ำที่ได้จากการต้มสมุนไพร  เป็นวิธีการบำบัดอย่างหนึ่งที่ใช้กันมานานมากแล้ว คือการใช้ "ความร้อนบำบัด" นั่นเอง การอบสมุนไพรเป็นกรรมวิธีในการรักษาสุขภาพอนามัยแบบพื้นบ้าน เดิมที การอบสมุนไพรจะใช้ในหมู่สตรีที่คลอดลูกใหม่ๆ ชาวอีสานเรียกว่า "อยู่กรรม" ซึ่งจะต้องอาบน้ำร้อน ดื่มน้ำร้อนที่เป็นน้ำต้มสมุนไพร และนอนย่างไฟ บนแคร่ไม้ไผ่ที่ปูรองพื้นด้วย
สมุนไพร เช่น ใบหนาด ใบเป้า นอกนั้นก็ใช้ในคนไข้ที่ประสบอุบัติเหตุหกล้ม รถชน ตกต้นไม้ ช้ำใน จะใช้วิธีการอบสมุนไพรโดยการย่าง เพื่อให้การสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายได้สม่ำเสมอ... และการอบสมุนไพร ถือว่าเป็นการช่วยล้างพิษออก
ทางเหงื่อ ผิวหนังของคนเราจะเป็นส่วนที่กว้างที่สุด ดังนั้น การขับสารพิษส่วนเกินออกทางเหงื่อจึงได้ผลดีมาก เวลาที่ร่างกายทุกส่วนเกิดความร้อนขึ้นพร้อมกันมันจะทำให้เส้นเลือดที่ผิวหนังขยายตัว เลือดก็จะพรั่งพรูกันขึ้นมาที่ผิวหนังเป็นจำนวนมาก
พาเอาสารเคมีส่วนเกินเช่น โซเดียม โปตัสเซียม หรือสารอื่นๆที่เรารับเข้าไปเกิน ความต้องการนั้นถูกหลั่งออกมากับเหงื่อ และในเวลาเดียวกันนั้น นอกจากจะล้างพิษออกไปแล้ว เลือดที่มาเลี้ยงที่ผิวหนังมากขึ้น ยังช่วยนำพาสารอาหารที่ดีๆมาให้ผิวหนัง ผิวหนังจึงสวยขึ้นได้
           การอบสมุนไพรมี 2 แบบ คือ การอบแห้ง (Sauna) คล้ายการอยู่ไฟ และการอบเปียก (Steam) ที่คนไทยนิยมมากในปัจจุบัน

1. การอบแห้ง การอบแห้ง หรือเรียกทับศัพท์ว่า  เซาว์น่า   ซึ่งคล้ายคลึงกับการอยู่ไฟของหญิงหลังคลอดของไทย  การอบแห้งเป็นการอบโดยอาศัยความร้อนที่ได้จากถ่านหินบนเตาร้อน  ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในต่างประเทศการอบแห้ง เป็นวิธีการอบตัวที่พัฒนามาจากประเพณีไทยดั้งเดิม ซึ่งมีพิธีกรรมต่างๆที่รักษาขวัญกำลังใจสำหรับมารดาหลังคลอด มีการอาบน้ำต้มสมุนไพรและทาตัวด้วยขมิ้น เพื่อบำรุงรักษาอาการอักเสบที่ผิวหนัง และนิยมอยู่ไฟหลังคลอดด้วยการนอนบนแคร่ไม้ มีกองฟืนให้ความอบอุ่นแก่
ร่างกาย และการใช้ความร้อนจากกองฟืนนั้นจะช่วยกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น มีการนำเตาถ่านมาใช้ประกอบการรักษาผิวพรรณและลดน้ำหนัก ลดไขมันส่วนเกิน ปัจจุบันมีการพัฒนาเป็นห้องอบแห้ง
2. การอบเปียก เป็นวิธีการอบตัวด้วยไอน้ำที่ได้จากการต้มสมุนไพร เป็นการบำบัดรักษาวิธีหนึ่ง ซึ่งเริ่มต้นจากประสบการณ์การนั่งกระโจมของหญิงหลังคลอด โดยใช้ผ้าทำเป็นกระโจม หรือนั่งในสุ่มไก่ที่ปิดคลุมไว้มิดชิด มีหม้อต้มสุมนไพรเดือดเป็นไอให้อบและสูดดมไอน้ำได้ และปัจจุบัน ได้นำเอาวิธีการเข้ากระโจมมาฟื้นฟูและพัฒนาให้เข้ากับชีวิตความเป็นอยู่สมัยใหม่โดยทำเป็นห้องอบไอน้ำสมุนไพรที่ทันสมัยขึ้น ใช้หม้อต้มสมุนไพรที่มีท่อส่งไอน้ำเข้าไปภายในห้องอบ หรือทำเป็นตู้แล้วเข้าไปนั่งอบตัว ส่วนประกอบของสมุนไพรที่ใช้อาจแตกต่างกันได้ตามวัตถุประสงค์เพื่อรักษาอาการต่างๆ เช่น ทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ช่วยขยายหลอดลมและปอด ขับก๊าซเสียได้มากขึ้น ร่างกายสดชื่น ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล ช่วยขับเหงื่อ คลายความเครียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็ง และลดอาการปวดตามข้อและกระดูก
       การอบตัวด้วยความร้อนนับเป็นวิธีการที่ทางการแพทย์ในปัจจุบันยอมรับว่าสามารถช่วยให้การไหล
เวียนของโลหิตและน้ำเหลืองบริเวณผิวหนังดีขึ้น ส่วนไอน้ำของสมุนไพรจะมีสรรพคุณตามคุณสมบัติของสมุนไพรนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่ช่วยให้ร่างกายเกิดความสดชื่น

สมุนไพรที่ใช้ในการอบ 
สมุนไพรที่ใช้ในการอบนั้นไม่จำกัดชนิด อาจเพิ่มหรือลดชนิดของสมุนไพรตามความต้องการใช้ประโยชน์ โดยยึดหลักสมุนไพรในการอบ 4 กลุ่ม ดังนี้
1. สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม คือเป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย เช่น ไพล ขมิ้น ผิวมะกรูด ซึ่งให้ประโยชน์ในการรักษาโรคและอาการต่างๆ คือ อาการคัดจมูก ปวดเมื่อย และเวียนศีรษะ
2. สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว เช่น ใบมะขาม ใบและฝักส้มป่อย
ในสมุนไพรกลุ่มนี้จะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก บำรุงผิวพรรณ เพิ่มความต้านทานโรคให้แก่ผิวหนัง
3. สมุนไพรที่เป็นสารประกอบระเหิดได้ เมื่อผ่านความร้อน มีกลิ่นหอม บำรุงหัวใจ เช่น การบูร พิมเสน ช่วยรักษาอาการหวัด คัดจมูก
4. สมุนไพรที่ใช้รักษาเฉพาะโรคและอาการ เช่น สมุนไพรแก้ปวดเมื่อยและบำรุงเส้นเอ็น ได้แก่ เถาวัลย์เปรียง ไพล เถาเอ็นอ่อน ใช้รักษาโรคผิวหนัง เช่น เหงือกปลาหมอเ ป็นต้น
สมุนไพรที่ใช้มี 2 ชนิด คือ สมุนไพรแบบสด และแบบแห้ง

โรคหรืออาการที่สามารถบำบัดรักษาด้วยการอบสมุนไพร
1. โรคภูมิแพ้ที่ไม่รุนแรง
2. เป็นหวัด น้ำมูกไหล  แต่ไม่มีการแห้งตันของน้ำมูก
3. อัมพฤกษ์  อัมพาต  ในระยะเริ่มแรก
4. ปวดเมื่อยตามร่างกายทั่วๆไป หรือโรคที่ไม่ได้เป็นการเจ็บป่วย เฉพาะที่  มีการเจ็บป่วยหลายตำแหน่ง
5. เป็นโรคหอบหืด  ในระยที่ไม่มีอาการรุนแรง
6. การอบตัวของมารดาหลังคลอดบุตร  เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพ
7. โรค  หรือ  อาการบางอย่าง  เช่น   การยอก  โรคเรื้อรังบางชนิด เช่น  โรคเบาหวาน  โรคเก๊าท์  อาจต้องใช้การอบสมุนไพรร่วมกับการรักษาอื่น ๆ  เช่น  ประคบสมุนไพร  นวดบำบัดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
ตัวอย่างสมุนไพรสด : พร้อมสรรพคุณ
    ไพล สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว
    ขมิ้นชัน สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง สมานแผล
    ขมิ้นอ้อย สรรพคุณ ใช้บรรเทาอาการฟกช้ำ บวมได้
    ว่านนางคำ สรรพคุณ รักษาเม็ดผดผื่นคัน
    ตะไคร้ สรรพคุณ ดับกลิ่นคาว บำรุงธาตุไฟ
    ใบ - ผิวมะกรูด สรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน
    ใบหนาด สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง พุพอง น้ำเหลืองเสีย
    ว่านน้ำ สรรพคุณ ช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้
    ใบมะขาม สรรพคุณ แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยให้ผิวหนังสะอาด
    ใบส้มป่อย สรรพคุณ แก้หวัด แก้ปวดเมื่อย
    ใบพลับพลึง สรรพคุณ แก้อาการฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก บรรเทาอาการปวด บวม
    กระชาย สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย ปากแตก เป็นแผล ใจสั่น
    ใบเปล้าใหญ่ สรรพคุณ ช่วยถอนพิษ ผิดสำแดง บำรุงผิว
    ผักบุ้งไทย สรรพคุณ ถอนพิษผื่นคัน
    หัวหอมแดง สรรพคุณ แก้หวัด คัดจมูก

    ตัวอย่างสมุนไพรแห้ง : พร้อมสรรพคุณ
    เหงือกปลาหมอ สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง พุพอง
    ชะลูด สรรพคุณ แก้ร้อนใน กระสับกระส่าย ดีพิการ
    กระวาน สรรพคุณ แก้เจ็บตา ตาแฉะ ตามัว
    เกสรทั้งห้า สรรพคุณ แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ
    สมุลแว้ง สรรพคุณ แต่งกลิ่น

ตัวอย่าง สูตรสมุนไพรที่ใช้อบเพื่อสุขภาพ ประกอบด้วย
    1. ยอดผักบุ้ง จำนวน 5 ยอด
    2. ใบมะกรูด จำนวน 3 - 5 ใบ
    3. ใบมะขาม จำนวน 1 กำมือ
    4. ใบส้มป่อย จำนวน 1 กำมือ
    5. ต้นตะไคร้ จำนวน 3 ต้น
    6. หัวไพล จำนวน 2 - 3 หัว 
    7. ใบพลับพลึง จำนวน 1 - 2 ใบ
    8. ใบหนาด จำนวน 3 - 5 ใบ
    9. ขมิ้น จำนวน 2 - 3 หัว
   10. การบูร จำนวน 15 กรัม

ที่มา : http://www.101sauna.com/BT-P-BakeHerbs.php

โรคเบาหวาน


โรคเบาหวาน


     เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้


ประเภทของเบาหวาน
          เบาหวาน สามารถแบ่งออกได้เป็น2ชนิด ได้แก่
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน หรือสร้างได้น้อยมาก ดังที่เรียกว่า โรคภูมิต้านทานตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน(autoimmune) ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว และถ้าเป็นรุนแรง จะมีการคั่งของสารคีโตน(ketones) สารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาททำให้หมดสติถึงตายได้

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็น เบาหวาน ที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะ น้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกาย มีลูกดก อีกทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว โดยอาจจะใช้ยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด
นอกจากนี้ เบาหวาน ยังมีสาเหตุมาจากการใช้ยาด้วย เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิด

อาการเบื้องต้น
              ผู้เป็นโรคเบาหวานจะมีอาการเบื้องต้นคือ
-ปวดปัสสาวะบ่อย ครั้งขึ้น เนื่องจากในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆมีน้ำตาลค้างอยู่มาก ไตจึงทำการกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน สังเกตุจากการที่มีมดมาตอมปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของการเรียก เบาหวาน

-ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น

-กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง

-อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง

-เบื่ออาหาร

-น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานได้เต็มที่จึงต้องนำไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทน

-ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ เช่นติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร สังเกตุได้จากเมื่อเป็นแผลแล้วแผลจะหายยาก

-สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน

-อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากเบาหวานจะทำลายเส้นประสาทให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกจึงถดถอยลง

-อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต

อาการแทรกซ้อน
           มักจะเกิดเมื่อเป็น เบาหวาน อย่างน้อย 5 ปีแล้วไม่ได้รักษาอย่างจริงจัง
1.ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)เกิดจากการที่น้ำตาลเข้าไปใน endothelium ของ หลอดเลือดเล็กๆ ในลูกตา ทำให้หลอดเลือดเหล่านี้มีการสร้างไกลโคโปรตีนซึ่งจะถูกขนย้ายออกมาเป็น Basement membrane มากขึ้น ทำให้ Basement membrane หนา แต่เปราะ หลอดเลือดเหล่านี้จะฉีกขาดได้ง่าย เลือดและสารบางอย่างที่อยู่ในเลือดจะรั่วออกมา และมีส่วนทำให้ Macula บวม
ซึ่งจะทำให้เกิด Blurred vision หลอดเลือดที่ฉีกขาดจะสร้างแขนงของหลอดเลือดใหม่ออกมามากมายจนบดบังแสงที่มาตกกระทบยัง Retina ทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยแย่ลง ตาหรือจอตาเสื่อม หรือมองเห็นจุดดำลอยไปมา และอาจจะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด


2.ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)ไตมักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย พยาธิสภาพของหลอดเลือดเล็กๆ ที่ Glomeruli จะทำให้ Nephron ยอมให้ albumin รั่วออกไปกับ filtrate ได้ Proximal tubule จึงต้องรับภาระในการดูดกลับสารมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นนานๆ ก็จะทำให้เกิด Renal failure ได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 3 ปี นับจากแรกเริ่มมีอาการ

3.ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy) เบาหวาน จะทำให้หลอดเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดพยาธิสภาพ ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้ เช่นรู้สึกชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือ เมื่อผู้ป่วยมีแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค และแล้วแผลก็จะเน่า และนำไปสู่ Amputation ในที่สุด ในผู้ชายอาจมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ(impotence)

4.โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease) เบาหวาน เป็นตัวการที่จะเร่งให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกายและเมื่อหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจเสื่อมสภาพจาก เบาหวาน ประกอบกับการมีไขมันในเลือดสูง ก็จะส่งผลให้มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิด โรคหัวใจขาดเลือด แต่หากหลอดเลือดเกิดอุดตัน ก็จะเกิดอาการ กล้ามเนื้อหัวใจตาย ในผู้ป่วย เบาหวาน บางราย กล้ามเนื้อหัวใจมีการทำงานน้อยกว่าปกติ คือ มีการบีบตัวน้อยกว่าปกติอันเนื่องมาจาก เส้นเลือดฝอยเล็กๆที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจาก เบาหวาน ซึ่งจะทำการรักษาได้ยาก การรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ปัญหาที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งของผู้เป็น เบาหวาน คือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจจะไม่แสดงอาการผิดปกติซึ่งจะบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจให้เห็นก่อน เช่นอาการเจ็บหน้าอก อันเป็นอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไป ดังนั้นผู้เป็น เบาหวาน บางรายอาจจะแสดงอาการครั้งแรกด้วยอาการที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ หัวใจล้มเหลว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ช้ากว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้

5.โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease) ผู้เป็น เบาหวาน จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง เพราะ เบาหวาน ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่งร่างกายและถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมอง ก็จะเกิดอัมพาตขึ้น โดยอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติ 2-4 เท่า โดยจะมีอาการเบื้องต้นสังเกตุได้จาก กล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างทันทีทันใดหรือเป็นครั้งคราว ใบหน้าชาครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง พูดกระตุกกระตัก สับสนหรือพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว ตาพร่าหรือมืดมองไม่เห็นไปชั่วครู่ เห็นแสงผิดปกติ วิงเวียน เดินเซไม่สามารถทรงตัวได้ กลืนอาหารแล้วสำลักบ่อยๆ มีอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรงโดยอาการปวดมักจะเกิดในขณะที่เคร่งเครียด หรือมีอารมณ์รุนแรง

6.โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)

7.แผลเรื้อรังจากเบาหวาน (Diabetic ulcer)

ผู้มีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน
     
            เบาหวาน พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในคนอายุกว่า 40 ปีขึ้นไป คนที่อยู่ในเมืองมีโอกาสเป็น เบาหวาน มากกว่าคนในชนบท คนอ้วนที่น้ำหนักเกิน โดยดูจากดัชนีมวลกาย ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย และหญิงที่มีลูกดกโดยเฉพาะผู้มีประวัติคลอดบุตรมีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า4กิโลกรัม จะมีโอกาสเป็น เบาหวานได้มากขึ้น แต่ในปัจจุบันลักษณะการบริโภค และกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันส่งผลให้มีคนเป็น เบาหวาน เพิ่มมากขึ้น และการพบผู้ป่วยที่อายุน้อยที่เป็น เบาหวาน ก็เพิ่มสูงขึ้น


การป้องกัน





-ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และแก้ไขปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอันจะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน

-ควบคุมโภชนาการ ให้มีความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย รวมไปจนถึงการใช้ยารักษาโรค

-ควรตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ โดยปรึกษาแพทย์ว่าควรตรวจเช็คเมื่อใด และ ระยะเวลาห่างในการตรวจที่เหมาะสม


-ยาบางชนิดหรือยาสมุนไพร อาจมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด จะต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา หรือ สมุนไพร เหล่านี้

ที่มา : http://thaidiabetes.blogspot.com/



























งานช้างสุรินทร์

งานช้างสุรินทร์


        จังหวัดสุรินทร์ เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศในนาม “ สุรินทร์ เมืองช้าง “ สืบเนื่องมาจากสุรินทร์มีกลุ่มผู้เลี้ยงช้างที่เรียกตัวเองว่า “ กูย “หรือ “ กวย “ ซึ่งมีความชำนาญในการจับช้างมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ได้ใช้ภูมิปัญญาวิชาคชศาสตร์จับช้างเผือกซึ่งแตกโรงจากกรุงศรีอยุธยา นำน้อมเกล้าฯถวายคืนสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 จนได้รับการโปรดเกล้าฯเป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ปกครองเมืองสุรินทร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2302 เป็นต้นมา และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ใกล้ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าละเมาะสลับป่าโปร่ง เหมาะแก่การเลี้ยงช้าง โคและกระบือ เป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพเลี้ยงช้างเสริมอาชีพหลักในการทำนา ทำไร่ และเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านซึ่งแต่เดิมแทบทุกหลังเรือน จะเลี้ยงช้างไว้อย่างน้อยครัวเรือนละ 1 เชือก จนเป็นที่รู้จักกันในนาม “ หมู่บ้านช้าง ”

ที่มา : http://www.manager.co.th/Travel/viewNews.aspx?NewsID=9550000138307


ประวัติ / ความเป็นมา
         
           ในสมัยโบราณในแถบพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ มีช้างอาศัยอยู่มากมาย ขณะเดียวกันจังหวัดสุรินทร์ก็มีชาวพื้นเมืองที่มีความชำนาญในการจับช้างป่ามาฝึกหัดทำงาน เรียกว่า พวก "ส่วย"
ชาวส่วยเป็นชาวพื้นเมืองที่กล่าวกันว่า เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ได้อพยพมาจากเมืองอัตขันแสนแป ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับเมืองจำปาศักดิ์ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน ชาวพื้นเมืองเหล่านี้เป็นเผ่าที่ชอบเลี้ยงช้าง เป็นผู้ริเริ่มในการจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานและเป็นพาหนะเดินทางขนส่งในท้องถิ่น การไปจับช้างในป่าลึกโดยใช้ช้างต่อ เรียกว่า "โพนช้าง"
ที่หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ชาวส่วยกลุ่มนี้ได้เข้าไปอยู่บนเนิน เขตรอยต่อระหว่าง ดงสายทอและดงรูดินใกล้ๆ กับบริเวณที่ลำน้ำชี้ (ชีน้อย) อันเป็นลำน้ำที่แบ่งเขตระหว่างจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์ และลำน้ำมูลไหลมาบรรจบกัน โดยสภาพพื้นที่ดังกล่าวในอดีตได้ตัดขาดจากโลกภายนอกเกือบสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้การผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมอื่นจึงมีน้อย ชาวส่วยเกือบทั้งหมดในเขตพื้นที่นี้ ยังมีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของตนเองอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงช้าง เป็นอาชีพหลักที่สำคัญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษในสมัยโบราณ ซึ่งไม่อาจสืบค้นได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด โดยชาวส่วยเหล่านี้จะพากันออกไปจับช้างในเขตประเทศกัมพูชามาฝึกให้สามารถใช้งานได้แล้วขายให้กับพ่อค้าจากภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อนำไปลากไม้ในป่า

จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2502 ได้เกิดพิพาทระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา การเดินทางไปจับช้างจึงยุติลง และในที่สุดก็ได้ยุติลงอย่างสิ้นเชิงในราวปี พ.ศ.2506 ในขณะเดียวกันชาวบ้านบางส่วนได้หันมาฝึกช้างจากการเป็นสัตว์ใช้งานมาเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านเช่นเดียวกับ แมวและสุนัข และฝึกสอนให้แสดงกิริยาต่างๆ เลียนแบบคน เพื่อจะได้นำไปแสดงในที่ต่างๆ แทนการขายไปทั้งตัว จนกระทั่งทางจังหวัดสุรินทร์ และองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้มองเห็นความสำคัญที่จะส่งเสริมการแสดงของช้างเป็นงานประจำปี ของจังหวัดสุรินทร์และประเทศไทยขึ้น โดยจัดเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ พ.ศ.2504  เป็นต้นมา  แต่ก่อนที่จะมีงานช้างซึ่งถือเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ซึ่งได้จัดติดต่อกันมาเกือบ 40 กว่าปีล่วงมาแล้ว นายท้าว ศาลางาม หมอช้างระดับครู ขาใหญ่แห่งหมู่บ้านกระเบื้องใหญ่ อำเภอชุมพลบุรี ได้เล่าถึงความเป็นมาของงานช้างว่า..
          ในปี พ.ศ.2498 นั้นมีข่าวลือว่า จะมีเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์มาลงที่หมู่บ้านตากลางหรือหมู่บ้านช้างในปัจจุบัน ด้วยเหตุที่ชาวบ้านนานๆ จะได้เห็นยวดยานพาหนะประเภทรถยนต์ และเครื่องบินผ่านไปในเขตพื้นที่อันเป็นที่อยู่อาศัยของตน จึงแตกตื่นไปทั่วตำบล มีการชักชวนกันไปดูเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ และเนื่องจากชาวบ้านในตำบลกระโพ เกือบทุกหมู่บ้านมีอาชีพสำคัญคือการเลี้ยงและ

ออกจับช้างป่ามาฝึกขาย จึงมีช้างเกือบทุกครัวเรือน โดยเป็นทั้งพาหนะและสินทรัพย์ที่สำคัญของชาวบ้านแถบนั้นการเดินทางไปดูเฮลิคอปเตอร์ในครั้งนั้นจึงใช้ช้างเป็นพาหนะ
เมื่อไปถึงลานจอดเฮลิคอปเตอร์แล้วปรากฏว่ามีช้างจำนวนมากมายรวมกันแล้วนับได้ประมาณ 300 เชือก สร้างความตื่นเต้นประทับใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างมาก
            จนกระทั่งในปี พ.ศ.2503 นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม สมัยนั้น ได้ให้นำช้างเหล่านี้มารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อร่วมแสดงในงานฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ณ บริเวณสนามบินเก่าท่าตูม คือ บริเวณโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน การแสดงครั้งนั้นได้จัดขึ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2503มีการเดินขบวนพาเหรดของช้าง การแสดงการคล้องช้าง และการแข่งขันช้างวิ่งเร็ว มีช้างเข้าร่วมในการแสดงประมาณ 60 เชือก จากการแสดงคราวนั้น ทำให้มีการประชาสัมพันธ์แพร่ภาพทั้งทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ เผยแพร่ไปทั่ว ทำให้เกิดความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทางองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ชื่อเดิมของ ททท.)จึงเสนอต่อกระทรวงมหาดไทยว่าการแสดงของช้างที่จังหวัดสุรินทร์ในครั้งนั้น นับว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มากของจังหวัด และประชาชนทั่วไปก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก แต่มีโอกาสหาชมได้น้อย จึงเห็นสมควรที่จะเผยแพร่งานแสดงของช้างไปสู่วงกว้าง โดยเสนอให้งานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีของจังหวัด และให้มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีการกำหนดวันให้แน่นอนตามปฏิทินทางสุริยคติ และจัดรูปแบบงานให้มีความรัดกุมมากขึ้น เพื่อจะได้มีเวลาในการโฆษณาเชิญชวนไปยังต่างประเทศ อันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวของประเทศให้แพร่หลายไปด้วย
            ดังนั้น ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2504 จังหวัดสุรินทร์จึงได้ร่วมกับองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงานแสดงของช้างขึ้น เป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์อีกครั้งหนึ่ง โดยยังคงจัดที่อำเภอท่าตูม ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 52 กิโลเมตร
             จากผลการจัดงานแสดงของช้างดังกล่าว ได้รับความสนใจจากชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทางองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จึงได้รายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้งานเสดงของช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และคณะรัฐมนตรี ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2505 เป็นต้นมา งานแสดงของช้างจังหวัดสุรินทร์จึงกลายเป็นงานประจำปีของชาติ และเป็นงานประเพณีที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาจังหวัดสุรินทร์จนกระทั่งปัจจุบัน
ที่มา : http://www.thaibizcenter.com/cultureinfo.asp?provid=66&placeid=3456

ความเป็นมางานต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้าง
          งานต้อนรับช้าง จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ ปีพ.ศ. 2535 ที่บริเวณหลังสถานีรถไฟ โดยจะจัดขึ้นก่อนวันแสดงช้างจริง 2 วัน ซึ่งเป็นวันที่ช้างทุกเชือกเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองสุรินทร์ ต่อมาได้มีการจัดเลี้ยงอาหารช้าง และย้ายสถานที่มาจัดที่บริเวณสี่แยกน้ำพุ ช้างซึ่งอยู่เคียงข้างชาวสุรินทร์มานานนับร้อยปี ได้สร้าง

         
การเติบโตที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดสุรินทร์ นั่นคือ "งานแสดงของช้าง" ซึ่งครับรอบ 40 ปี ในปี พ.ศ. 2543 กำลังจะก้าวสู่ทศวรรษที่ห้า จังหวัดสุรินทร์และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ จึงมีแนวคิดที่จะสร้างตำนวนประวัติศาสตร์ของจังหวัดที่จะร่วมกันอนุรักษ์ไว้ซึ่งประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของชาวสุรินทร์






การแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์

              ซึ่งถือเป็นไฮไลท์ของงาน  นอกจากจะเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์แล้ว ยังเป็นงานประจำปีของชาติตามมติคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๕






การแสดง แสง สี เสียง





          ทั้งนี้ยังมีการจัดนิทรรศการ  ของส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน กิจกรรมการแสดงและจำหน่ายผลิตผลของเกษตรกรและชุมชน  กิจกรรมการประกวดของดีเมืองสุรินทร์และผลิตผลทางการเกษตร เช่น มะพร้าวน้ำหอม กล้วยน้ำว้า ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมสากล เป็นต้น  เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นของดีประจำจังหวัดให้มีคุณภาพและเป็นการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองสุรินทร์ การจัดกิจกรรมบนเวทีกลางณ บริเวณร้านธารากาชาด  สนามกีฬาศรีณรงค์  เช่น  การประกวดร้องเพลงของผู้บริหารและสมาชิก อบต.  การเดินแบบผ้าไหมพื้นเมืองสุรินทร์  การแสดงของเยาวชนในจังหวัดสุรินทร์  และการแสดงศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ของจังหวัดสุรินทร์  เป็นต้น







ที่มา : http://www.surin.20m.com/foodchang.html