วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

งานช้างสุรินทร์

งานช้างสุรินทร์


        จังหวัดสุรินทร์ เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศในนาม “ สุรินทร์ เมืองช้าง “ สืบเนื่องมาจากสุรินทร์มีกลุ่มผู้เลี้ยงช้างที่เรียกตัวเองว่า “ กูย “หรือ “ กวย “ ซึ่งมีความชำนาญในการจับช้างมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ได้ใช้ภูมิปัญญาวิชาคชศาสตร์จับช้างเผือกซึ่งแตกโรงจากกรุงศรีอยุธยา นำน้อมเกล้าฯถวายคืนสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 จนได้รับการโปรดเกล้าฯเป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ปกครองเมืองสุรินทร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2302 เป็นต้นมา และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ใกล้ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าละเมาะสลับป่าโปร่ง เหมาะแก่การเลี้ยงช้าง โคและกระบือ เป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพเลี้ยงช้างเสริมอาชีพหลักในการทำนา ทำไร่ และเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านซึ่งแต่เดิมแทบทุกหลังเรือน จะเลี้ยงช้างไว้อย่างน้อยครัวเรือนละ 1 เชือก จนเป็นที่รู้จักกันในนาม “ หมู่บ้านช้าง ”

ที่มา : http://www.manager.co.th/Travel/viewNews.aspx?NewsID=9550000138307


ประวัติ / ความเป็นมา
         
           ในสมัยโบราณในแถบพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ มีช้างอาศัยอยู่มากมาย ขณะเดียวกันจังหวัดสุรินทร์ก็มีชาวพื้นเมืองที่มีความชำนาญในการจับช้างป่ามาฝึกหัดทำงาน เรียกว่า พวก "ส่วย"
ชาวส่วยเป็นชาวพื้นเมืองที่กล่าวกันว่า เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ได้อพยพมาจากเมืองอัตขันแสนแป ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับเมืองจำปาศักดิ์ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน ชาวพื้นเมืองเหล่านี้เป็นเผ่าที่ชอบเลี้ยงช้าง เป็นผู้ริเริ่มในการจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานและเป็นพาหนะเดินทางขนส่งในท้องถิ่น การไปจับช้างในป่าลึกโดยใช้ช้างต่อ เรียกว่า "โพนช้าง"
ที่หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ชาวส่วยกลุ่มนี้ได้เข้าไปอยู่บนเนิน เขตรอยต่อระหว่าง ดงสายทอและดงรูดินใกล้ๆ กับบริเวณที่ลำน้ำชี้ (ชีน้อย) อันเป็นลำน้ำที่แบ่งเขตระหว่างจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์ และลำน้ำมูลไหลมาบรรจบกัน โดยสภาพพื้นที่ดังกล่าวในอดีตได้ตัดขาดจากโลกภายนอกเกือบสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้การผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมอื่นจึงมีน้อย ชาวส่วยเกือบทั้งหมดในเขตพื้นที่นี้ ยังมีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของตนเองอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงช้าง เป็นอาชีพหลักที่สำคัญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษในสมัยโบราณ ซึ่งไม่อาจสืบค้นได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด โดยชาวส่วยเหล่านี้จะพากันออกไปจับช้างในเขตประเทศกัมพูชามาฝึกให้สามารถใช้งานได้แล้วขายให้กับพ่อค้าจากภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อนำไปลากไม้ในป่า

จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2502 ได้เกิดพิพาทระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา การเดินทางไปจับช้างจึงยุติลง และในที่สุดก็ได้ยุติลงอย่างสิ้นเชิงในราวปี พ.ศ.2506 ในขณะเดียวกันชาวบ้านบางส่วนได้หันมาฝึกช้างจากการเป็นสัตว์ใช้งานมาเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านเช่นเดียวกับ แมวและสุนัข และฝึกสอนให้แสดงกิริยาต่างๆ เลียนแบบคน เพื่อจะได้นำไปแสดงในที่ต่างๆ แทนการขายไปทั้งตัว จนกระทั่งทางจังหวัดสุรินทร์ และองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้มองเห็นความสำคัญที่จะส่งเสริมการแสดงของช้างเป็นงานประจำปี ของจังหวัดสุรินทร์และประเทศไทยขึ้น โดยจัดเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ พ.ศ.2504  เป็นต้นมา  แต่ก่อนที่จะมีงานช้างซึ่งถือเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ซึ่งได้จัดติดต่อกันมาเกือบ 40 กว่าปีล่วงมาแล้ว นายท้าว ศาลางาม หมอช้างระดับครู ขาใหญ่แห่งหมู่บ้านกระเบื้องใหญ่ อำเภอชุมพลบุรี ได้เล่าถึงความเป็นมาของงานช้างว่า..
          ในปี พ.ศ.2498 นั้นมีข่าวลือว่า จะมีเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์มาลงที่หมู่บ้านตากลางหรือหมู่บ้านช้างในปัจจุบัน ด้วยเหตุที่ชาวบ้านนานๆ จะได้เห็นยวดยานพาหนะประเภทรถยนต์ และเครื่องบินผ่านไปในเขตพื้นที่อันเป็นที่อยู่อาศัยของตน จึงแตกตื่นไปทั่วตำบล มีการชักชวนกันไปดูเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ และเนื่องจากชาวบ้านในตำบลกระโพ เกือบทุกหมู่บ้านมีอาชีพสำคัญคือการเลี้ยงและ

ออกจับช้างป่ามาฝึกขาย จึงมีช้างเกือบทุกครัวเรือน โดยเป็นทั้งพาหนะและสินทรัพย์ที่สำคัญของชาวบ้านแถบนั้นการเดินทางไปดูเฮลิคอปเตอร์ในครั้งนั้นจึงใช้ช้างเป็นพาหนะ
เมื่อไปถึงลานจอดเฮลิคอปเตอร์แล้วปรากฏว่ามีช้างจำนวนมากมายรวมกันแล้วนับได้ประมาณ 300 เชือก สร้างความตื่นเต้นประทับใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างมาก
            จนกระทั่งในปี พ.ศ.2503 นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม สมัยนั้น ได้ให้นำช้างเหล่านี้มารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อร่วมแสดงในงานฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ณ บริเวณสนามบินเก่าท่าตูม คือ บริเวณโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน การแสดงครั้งนั้นได้จัดขึ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2503มีการเดินขบวนพาเหรดของช้าง การแสดงการคล้องช้าง และการแข่งขันช้างวิ่งเร็ว มีช้างเข้าร่วมในการแสดงประมาณ 60 เชือก จากการแสดงคราวนั้น ทำให้มีการประชาสัมพันธ์แพร่ภาพทั้งทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ เผยแพร่ไปทั่ว ทำให้เกิดความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทางองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ชื่อเดิมของ ททท.)จึงเสนอต่อกระทรวงมหาดไทยว่าการแสดงของช้างที่จังหวัดสุรินทร์ในครั้งนั้น นับว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มากของจังหวัด และประชาชนทั่วไปก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก แต่มีโอกาสหาชมได้น้อย จึงเห็นสมควรที่จะเผยแพร่งานแสดงของช้างไปสู่วงกว้าง โดยเสนอให้งานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีของจังหวัด และให้มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีการกำหนดวันให้แน่นอนตามปฏิทินทางสุริยคติ และจัดรูปแบบงานให้มีความรัดกุมมากขึ้น เพื่อจะได้มีเวลาในการโฆษณาเชิญชวนไปยังต่างประเทศ อันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวของประเทศให้แพร่หลายไปด้วย
            ดังนั้น ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2504 จังหวัดสุรินทร์จึงได้ร่วมกับองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงานแสดงของช้างขึ้น เป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์อีกครั้งหนึ่ง โดยยังคงจัดที่อำเภอท่าตูม ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 52 กิโลเมตร
             จากผลการจัดงานแสดงของช้างดังกล่าว ได้รับความสนใจจากชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทางองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จึงได้รายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้งานเสดงของช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และคณะรัฐมนตรี ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2505 เป็นต้นมา งานแสดงของช้างจังหวัดสุรินทร์จึงกลายเป็นงานประจำปีของชาติ และเป็นงานประเพณีที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาจังหวัดสุรินทร์จนกระทั่งปัจจุบัน
ที่มา : http://www.thaibizcenter.com/cultureinfo.asp?provid=66&placeid=3456

ความเป็นมางานต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้าง
          งานต้อนรับช้าง จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ ปีพ.ศ. 2535 ที่บริเวณหลังสถานีรถไฟ โดยจะจัดขึ้นก่อนวันแสดงช้างจริง 2 วัน ซึ่งเป็นวันที่ช้างทุกเชือกเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองสุรินทร์ ต่อมาได้มีการจัดเลี้ยงอาหารช้าง และย้ายสถานที่มาจัดที่บริเวณสี่แยกน้ำพุ ช้างซึ่งอยู่เคียงข้างชาวสุรินทร์มานานนับร้อยปี ได้สร้าง

         
การเติบโตที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดสุรินทร์ นั่นคือ "งานแสดงของช้าง" ซึ่งครับรอบ 40 ปี ในปี พ.ศ. 2543 กำลังจะก้าวสู่ทศวรรษที่ห้า จังหวัดสุรินทร์และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ จึงมีแนวคิดที่จะสร้างตำนวนประวัติศาสตร์ของจังหวัดที่จะร่วมกันอนุรักษ์ไว้ซึ่งประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของชาวสุรินทร์






การแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์

              ซึ่งถือเป็นไฮไลท์ของงาน  นอกจากจะเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์แล้ว ยังเป็นงานประจำปีของชาติตามมติคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๕






การแสดง แสง สี เสียง





          ทั้งนี้ยังมีการจัดนิทรรศการ  ของส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน กิจกรรมการแสดงและจำหน่ายผลิตผลของเกษตรกรและชุมชน  กิจกรรมการประกวดของดีเมืองสุรินทร์และผลิตผลทางการเกษตร เช่น มะพร้าวน้ำหอม กล้วยน้ำว้า ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมสากล เป็นต้น  เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นของดีประจำจังหวัดให้มีคุณภาพและเป็นการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นเมืองสุรินทร์ การจัดกิจกรรมบนเวทีกลางณ บริเวณร้านธารากาชาด  สนามกีฬาศรีณรงค์  เช่น  การประกวดร้องเพลงของผู้บริหารและสมาชิก อบต.  การเดินแบบผ้าไหมพื้นเมืองสุรินทร์  การแสดงของเยาวชนในจังหวัดสุรินทร์  และการแสดงศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ของจังหวัดสุรินทร์  เป็นต้น







ที่มา : http://www.surin.20m.com/foodchang.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น