เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตฉัน
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่ พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกิน โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันทีดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข
การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณา ให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนัก ในคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติ ปัญญาในการดำเนินชีวิต
จะสร้างเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไรให้สู่สังคมเราได้อย่างมั่นคง
(ที่มา : http://www.rta.mi.th/21610u/Data/Data_pro/Popeaing/1.htm)
ตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้าน
หมู่บ้านถนน หมู่ที่ 8 ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเดิมสภาพทั่วไปของ
หมู่บ้านถนน ครัวเรือนส่วนมากทำนาเป็นอาชีพหลัก มีพื้นที่ทำกิน อยู่ในหมู่บ้าน และอยู่ในเขตนอกหมู่บ้าน ส่วนใหญ่พื้นทีทำนาอยู่ในเขตหมู่บ้าน ครัวเรือนส่วนหนึ่งมีการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้ว ได้แก่ การปลูกผักสวนครัว ผลไม้ เลี้ยงปลา ไว้กินเอง มีหมอดินอาสาของตำบลอยู่ในหมู่บ้าน จึงมีการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน และมีการนำความรู้มาปรับใช้ในครัวเรือน เช่นการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ทำน้ำหนักชีวภาพ ประชาชนให้ความร่วมมือในกิจกรรมส่วนรวม ทำให้การพัฒนาหมู่บ้านเป็นไปได้ดี ทำให้เกิดการขยายผลไปสู่ครัวเรือนอื่นในหมู่บ้าน เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจในร
ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านเราประสบความสำเร็จ
• ประชาชนมีความรัก ความสามัคคี ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมส่วนรวม
• ครัวเรือนส่วนมากในหมู่บ้านมีการดำเนินกิจกรรรมการดำรงชีวิตตามแนววิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
เช่น การปลูกผักสวนครัว เลี้ยงปลา
การทำข้าวนาโยน ทำปุ๋ยหมักชีวภาพไว้ใช้เองอยู่แล้ว
• ประชาชนในหมู่บ้านมีความเข้มแข็ง พร้อมที่จะพัฒนาตนเอง
• ประชาชนยอมปรับสภาพ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
• หมู่บ้านมีความเข้มแข็ง สามารถเป็นแบบอย่างในการดำเนินกิจกรรมการดำรงชีวิตตามแนววิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงแก่ครัวเรือนอื่นในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน
• ผู้นำ/แกนนำ
ได้รับโอกาสในการเข้ารับการเรียนรู้จากการฝึกอบรม ของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น
ประมง เกษตร องค์กรเอกชน
เช่น ปตท. สามารถนำความรู้มาเผยแพร่แก่ประชาชนได้
•ผู้นำมีความเข้มแข็ง เป็นแบบอย่างแก่ประชาชนได้
เกษตรกรตัวอย่างของตำบลเฉนียง อ.เมือง จ.สุรินทร์
นายเกียรติ ประมูลศรี
อยู่บ้านเลขที่ 52 หมู่ที่ 8 บ้านถนน ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000
(ที่มา : นายเกียรติ ประมูลศรี เกษตรกรตัวอย่างของตำบลเฉนียง )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น